วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กระบวนการวิจัยและพัฒนา

+++สรุปจากที่ได้เรียน
  : 21.06.55


E-Learning
- WBI : Web-Based Instruction  = เป็นการเรียนการสอนผ่านเว็บ
- LMS : Learning Management System
              - Moodle = การจัดการเรียนการสอนผ่านโปรแกรมที่เป็นแอพลิเคชั่น
                                 บนเครือข่าย
              - A-Tutor
- Electronic Learning : e-learning = การเรียนผ่านสื่ออิเล็คทรอนิกส์ เช่น e-book












ขั้นตอนการออกแบบระบบการเรียนการสอน
- Instructional Design (ID) = การออกแบบการเรียนการสอน
- การวิเคราะห์ (Analysis)
- การออกแบบ (Design)
- การพัฒนา (Development)
- การนำไปใช้ (Implement)
- การประเมินผล (Evaluation)


การวิเคราะห์เนื้อหา
1. สร้างแผนภูมิระดมสมอง (Brain Storm Chart)
2. สร้างแผนภูมิหัวเรื่องสัมพันธ์ (Concept Chart)
3. สร้างแผนภูมิโครงข่ายเนื้อหา (Content Network Chart)


การสร้างแผนภูมิหัวเรื่องสัมพันธ์
  คือ นำแผนภูมิระดมสมองมาวิเคราะห์ความถูกต้อง ตามทฤษฎีหลักการและเหตุผล
ควาสัมพันธ์กันอย่างละเอียดอีกครั้ง อาจมีการตัด - เพิ่มหัวข้อเรื่องตามเหตุผลและ
ความเหมาะสม 


การสร้างแผนภูมิโครงข่ายเนื้อหา
 คือ นำแผนภูมิหัวเรื่องสัมพันธ์ นำมาเขียนเป็นโครงข่ายเนื้อหา โดยคำนึงถึง
ความก่อน - หลัง ความต่อเนื่อง หรือขนานกันตามหลักการเทคนิคโครงข่าย


การออกแบบบทเรียน
4. กำหนดวิธีการนำเสนอและวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
   คือ นำแผนภูมิโครงข่ายเนื้อหานำมาพิจารณา กลุ่มหัวเรื่องที่สามารถจัดไว้ใน
หน่วยเดียวกันได้ ตีเป็นกรอบๆ ไว้กำหนดเป็นหน่วยๆ และอันดับไว้ แล้วเขียนกำกับ
ด้วยวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม จากนั้น นำกรอบหน่วยมาลำดับการนำเสนอตาม
อันดับและความสัมพันธ์แนวเดียวกับโครงข่ายเนื้อหาซึ่งจะได้เป็นแผนภูมิบทเรียน
5. สร้างแผนภูมิการนำเสนอในแต่ละหน่วย
   คือ การกำหนดกลวิธีการนำเสนอในแต่ละหน่วยเรียน ว่าจะให้มีรูปแบบเช่นไร จะต้อง
ออกแบบลำดับการนำเสนอเนื้อหาบทเรียนตามหลักการสอนจริง


การพัฒนาบทเรียน
6. เขียนรายละเอียดเนื้อหา
   คือ การนำมาเขียนลงในกรอบตามแผนการนำเสนอที่ได้วางไว้ ซึ่งเป็นการร่างต้นแบบ
ของการนำเสนอก่อนการนำเสนอจริง ในแต่ละเฟรม มีการกำหนดส่วนที่ต้องใ้ช้ ภาพ
ภาพเคลื่อนไหว เสียง สี ปฏิสัมพันธ์ ที่ควรจะมีในแต่ละเฟรม
7. จัดทำลำดับเนื้อหา
  คือ การนำกรอบเนื้อหาที่กำหนดเสร็จแล้ว นำมาจัดเรียบเรียงตามลำดับการนำเสนอ
ให้สอดคล้องกับที่ได้วางแผนและออกแบบไว้ ซึ่งยังเป็นเอกสารสิ่งพิมพ์อยู่
8. ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา 
   คือ การนำเนื้อหาที่ยังเป็นสิ่งพิมพ์นี้ ตรวจสอบความถูกต้องความสมบูรณ์และความ
เหมาะสม ของลำดับเนื้อหา โดยผู้เชี่ยวชาญหลังจากนั้นก็นำข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ
มาทำการปรับปรุงแล้วนำไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง 
9. การสร้างแบบทดสอบต่างๆ
    คือ การศึกษาเนื้อหาและวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมตามหลักสูตร
ออกข้อสอบตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ต้องวัด นำร่างแบบทดสอบมาตรวจสอบ
โดยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา ทำการปรับปรุงแบบทดสอบตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ
นำแบบทดสอบที่ผ่านการปรับปรุงแก้ไข ไปทำการทดสอบกับกลุ่มตัวอย่าง
นำผลคะแนนสอบที่ได้ มาวิเคราะห์คุณภาพของแบบทดสอบ ถึงค่าความยากง่าย
ค่าอำนาจจำแนก และค่าความเชื่อมั่นให้ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด
10. เลือกโปรแกรมในการจัดทำบทเรียน
11. จัดเตรียมสื่อที่จำเป็นที่ต้องใช้ประกอบในแต่ละเฟรมของการนำเสนอ
12. สร้างบทเรียนโดยนำทรัพยากรที่เตรียมไว้แล้ว มาสร้างตามที่ออกแบบไว้
13. ตรวจสอบคุณภาพของ Package
   คือ การนำบทเรียนที่สร้างขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบและประเมินคุณภาพ
ด้านมัลติมีเดียนำข้อบกพร่องและข้อเสนอแนะมาปรับปรุงให้สมบูรณ์ 
14. ทำการทดสอบหาประสิทธิภาพ
   คือ การนำบทเรียนที่ปรับปรุงแก้ไขเรียบร้อยแล้ว ไปทดสอบกระบวนการหา
ประสิทธิภาพ กับกกลุ่มตัวอย่าง
15. จัดทำคู่มือการใช้งาน
  คือ การดำเนินการทดสอบเพื่อหาประสิทธิภาพและประสิทธิผลทางการเรียนกับกลุ่ม
เป้าหมายและนำผล ที่ได้มาทำการวิเคราะห์ว่าเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้
16. จัดทำคู่มือการใช้งาน
    คือ เพื่อใช้ประกอบการเรียน เมื่อบทเรียนได้ผ่านขั้นตอนการประเมินประสิทธิภาพ
และประสิทธิิผลเรียบร้อยแล้ว


โดย ดร. ปรัชญนันท์  นิลสุข
--- เครดิต ครูกนกวรรณ กันยะมี ---







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น