การสื่อสารข้อมูล
1.องค์ประกอบของระบบสื่อสารข้อมูล👇👇
1. ผู้ส่ง (Sender) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการส่ง
2. ผู้รับ (Receiver) เป็นปลายทางการสื่อสาร มีหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งมาให้
3. สื่อกลาง (Medium) หรือตัวกลาง เป็นเส้นทางการสื่อสารเพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง 4. ข้อมูลข่าวสาร (Message) คือสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสาร
5. โปรโตคอล (Protocol) คือ วิธีการหรือกฎระเบียบที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจ กันหรือคุยกันรู้เรื่อง
2.การสื่อสารข้อมูลทิศทางเดียว😻
การสื่อสารข้อมูลทิศทางเดียว (Simplex Transmission) เป็นการสื่อสารข้อมูลที่มีผู้ส่งข้อมูลทำหน้าที่ส่งแต่เพียงผู้เดียว และผู้รับทำหน้าที่ รับข้อมูลแต่เพียงอย่างเดียว
3.การสื่อสารข้อมูลสองทิศทางสลับกัน💪
การสื่อสารข้อมูลสองทิศทางสลับกัน (Half Duplex Transmission) เป็นการสื่อสาร 2 ทิศทาง แต่คนละเวลากัน เช่น วิทยุสื่อสาร เป็นต้น
4.การสื่อสารแบบสองทิศทางพร้อมกัน😃
การสื่อสารแบบสองทิศทางพร้อมกัน (FullDuplex) คือ การที่ผู้สงและผู้รับผลัดกันทำหน้าที่รับและส่งข่าวสารในเวลาเดียวกันเป็นที่นิยมในปัจจุบันเนื่องจากสะดวกและรวดเร็วตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลได้ทันที
5.สัญญาณแอนะล็อก👽
สัญญาณอนาล็อก (Analog Signal) หมายถึง สัญญาณในรูปแบบของคลื่นต่อเนื่อง หรือ Sine Wave ซึ่งมีความถี่และความเข้มของสัญญาณต่างกัน มีการเปลี่ยนแปลงขนาดของสัญญาณแบบค่อยเป็นค่อยไปอย่างต่อเนื่อง โดยคุณสมบัติเด่นของสัญญาณอนาล็อก (Analog Signal) คือ สามารถส่งสัญญาณได้ในระยะไกล สามารถพบเห็นการใช้สัญญาณอนาล็อก (Analog Signal)
สัญญาณดิจิตอล (Digital Signal) หมายถึง สัญญาณที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete Data) มีขนาดแน่นอนแต่อาจกระโดดไปมาระหว่างค่าสองค่า คือ สัญญาณระดับสูงสุดและสัญญาณระดับต่ำสุด ซึ่งสัญญาณดิจิตอลนี้เป็นสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการทำงานและติดต่อสื่อสารกัน
ด.ญ พัชราภา ต่ายพูล ม.3 เลขที่4
ด.ญ. กชวรรณ แพรเอม ม.3 เลขที่6
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น